รออีกไม่นาน.BTS. & .MRT.เราก็จะมีรถไฟฟ้าครบทุกสาย….ความสะดวกสบายที่จะเกิดขึ้นครบทุกระบบ..เร็วๆนี้..

การพัฒนาประเทศให้ถึงพร้อมและครบในทุกด้านนอกจากจะมีการพัฒนาในส่วนของสาธารณูปโภคเป็นเรื่องจำเป็น ทั้งยังในด้านของการตอบโจทย์ในการพัฒนาในทุกๆด้านแล้วนั้น ในส่วนของการเดินทางขนส่งต่างๆยังคงต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องพัฒนาระบบขนส่ง หรือระบบคมนาคม เพื่อให้มีความสะดวก ประหยัด และรวดเร็ว ให้ทันสมัยตามกาลเวลาเพื่อก้าวเข้าสู่การพัฒนาการเป็นผู้นำในส่วนของภูมิภาค ประเทศไทยนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมความงดงามหลากหลายสิ่ง ซึ่ง เป็นเป้าประสงค์ของนักลงทุน หรือนักพัฒนาธุรกิจการค้า ที่มองและพร้อมที่จะก้าวเข้ามาพัฒนาอุตสาหกรรมการลงทุนในด้านที่มีความสนใจ ดังนั้นการพัฒนาที่ทางรัฐบาลต้องมีการลงทุนในเรื่องงบประมาณในการเรื่องการสร้างถนนหนทาง หรือระบบขนส่งจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อการรองรับ จูงใจและให้การสนับสนุนผุ้สนใจในการลงทุน ดั่งรายละเอียดการก่อสร้างทางขนส่ง”รถไฟฟ้าสายต่างๆ” ดั่งนี้้

1. รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย)

  รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม มหาชัย-ธรรมศาสตร์ รวมระยะทางทั้งหมด 114.3 กิโลเมตร มีทั้งหมด 38 สถานี เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองที่เชื่อมต่อกรุงเทพฯ โซนเหนือและโซนใต้ โดยเริ่มก่อสร้างช่วงเส้นทางบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อตลิ่งชัน ระยะทางรวมประมาณ 41 กิโลเมตร ซึ่งเตรียมจะเปิดให้บริการได้ในต้นปี 2563

2. รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (ศาลายา-ตลิ่งชัน-บางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก)

   รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนหรือรถไฟชานเมืองสายตะวันออก-ตะวันตก เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าชานเมืองสีแดง มีระยะทางประมาณ 127.5 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ตอนนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างช่วงชุมทางตลิ่งชัน-สถานีกลางบางซื่อ และอยู่ระหว่างทดลองเดินรถด้วยรถไฟดีเซลราง (ระยะที่ 1 ตลิ่งชัน-บางซ่อน) เมื่อปี 2562 ครม.มีมติให้สร้างเพิ่มช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2565

3. Airport Link Line แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ (บางซื่อ-พญาไท-สุวรรณภูมิ)

  รถไฟฟ้าสายอากาศยานมีสถานีรายทางทั้งสิ้น 10 สถานี คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง – บางซื่อ – พญาไท – ราชปรารภ – มักกะสัน – รามคำแหง – หัวหมาก – บ้านทับช้าง – ลาดกระบัง – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใช้เวลาเดินทาง 30 นาทีจากดอนเมืองถึงสุวรรณภูมิ ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการสรุปรูปแบบโครงการ 

4. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (BTS สายสุขุมวิท) 

  ปัจจุบันเปิดให้บริการช่วงเคหะสมุทรปราการ-ม.เกษตรศาสตร์ เป็นรถไฟฟ้าเส้นทางแรกและเส้นทางหลักของกรุงเทพมหานคร พาดผ่านใจกลางกรุงเทพฯ และพื้นที่สำคัญย่านใจกลางเมือง ปัจจุบันและอยู่ระหว่างการก่อสร้างส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต (สถานีม.เกษตรฯ – คูคต ) ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2563 

5. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (BTS สายสีลม)

  เป็นรถไฟฟ้าเส้นทางที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (จุดเชื่อมต่อบริเวณสถานีสยาม) ปัจจุบันเปิดให้บริการที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สถานีบางหว้า อนาคตจะขยายเส้นทาง จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส และจากสถานีบางหว้าไปตลิ่งชันเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน  

6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4)

   ปัจจุบัน (2562) เปิดให้บริการครบทุกสถานี (ท่าพระ-หลักสอง) จำนวน 38 สถานี ระยะทาง 47 กิโลเมตร โดยเปิดส่วนต่อขยายหัวลำโพง-หลักสอง และบางซื่อ-ท่าพระในปี 2562 และจะเปิดให้บริการส่วนต่อขยายอย่างเป็นทางการ (เตาปูน-ท่าพระ) วันที่ 30 มีนาคม 2563 สำหรับส่วนต่อขยายจากหลักสองไปถึงพุทธมณฑล สาย 4 อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการ

7. รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ)

   รถไฟฟ้าสายสีม่วงปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วในช่วงสถานีเตาปูน-คลองบางไผ่ ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินบริเวณสถานีเตาปูน และเร็วๆ นี้เตรียมก่อสร้างส่วนต่อขยายจากเตาปูนไปราษฎร์บูรณะ ระยะทางเพิ่มเติมประมาณ 23.6 กิโลเมตร คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปี 2563 

8. รถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี)

  ปัจจุบัน (2563) รถไฟฟ้าสายสีส้มอยู่ระหว่างการก่อสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร ซึ่งจะมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินหรือ MRT ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีน้ำตาล ที่สถานีลำสาลี เป็นเส้นทางใต้ดินและลอยฟ้า คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2566

9. รถไฟฟ้าสายสีชมพู (ปากเกร็ด-หลักสี่-มีนบุรี-สุวินทวงศ์)

  รถไฟฟ้าสายสีชมพูจากแคราย-มีนบุรี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งรูปแบบจะเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล รางเดี่ยว ระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร จะมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายแดง สายสีเขียว สายสีเทาและสายสีส้ม กำหนดการจะสร้างเสร็จปี 2564

10. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (รัชดาภิเษก-ลาดพร้าว-สำโรง)

  รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเส้นทางลาดพร้าว-สำโรง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นรูปแบบโมโนเรล จะมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว และมีจุดตัดกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีลำสาลี แอร์พอร์ตลิงค์ที่สถานีหัวหมาก และเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีสำโรง กำหนดการจะแล้วเสร็จประมาณปี 2564 ส่วนต่อขยายจากบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าวผ่านหน้าศาลอาญา มุ่งหน้ารัชโยธินอยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการ 

11. รถไฟฟ้าสายสีเทา (เฟส 1 วัชรพล-ทองหล่อ)

  รถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ) เป็นโครงการรถไฟฟ้าในอนาคต เมื่อปลายปี 2562 ทางสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรหรือสนข. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กทม. อยู่ระหว่างการผลักดันการลงทุน เพื่อแก้ไขปัญหารถติดในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในและชั้นนอก 

12. รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี)
  รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-บึงกุ่ม) ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร อัพเดตล่าสุดปี 2562 บอร์ดรฟม. เห็นชอบให้ลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางนี้ และมีการลงทุนควบคู่ไปกับการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยหรือกทพ. เพราะทั้ง 2 โครงการมีแนวเส้นทางเดียวกัน ตามแผนกำหนดเริ่มต้นก่อสร้างปี 2563-2564 และกำหนดจะเปิดให้บริการปี 2568 

13. รถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี-ประชาธิปก)
  รถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี-ประชาธิปก) เป็นรถไฟฟ้าเส้นทางระยะสั้น รูปแบบโมโนเรลหรือรางเดี่ยว พัฒนาโครงการโดยกทม. และกลุ่มไอคอน สยาม ระยะรวม 2.8 กิโลเมตร 4 สถานี แบ่งออกเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรกอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1.8 กิโลเมตร 3 สถานี เชื่อมต่อไอคอน สยาม บริเวณสถานีเจริญนคร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการปี 2563

จะเห็นได้ว่าทางรัฐบาลไทย ได้ตระหนัก มีพยายามที่จะสร้างโครงข่ายในระบบขนส่งให้มีความสะดวกสบายรวดเร็ว เพื่อระบบการขนส่งมวลชนสาธารณะ อันจะเป็นประโยชน์ในการที่จะส่งเสริมสนับสนนการเดินทาง หรือการขนส่งมวลชนให้มีความรวดเร็วทันสมัย และยังคงเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้้นฐานที่รัฐบาลต้องมีและสร้างให้กับประเทศ เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ดังให้ประเทศมีความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีความสะดวกสบาย ประหยัดและถูกต้องตามกระแสโลกโลกภิวัฒน์ในยุค 4.0 ดิจิตอล และก้าวเป็นประเทศผู้นำการค้าการลงทุนในภูมิภาคอาเซี่ยน และก้าวพัฒนาต่อไปไม่หยุดยั้งด้วยเทคโนโลยีที่นำมาใช้ผสมผสานไม่ว่าจะเป็นการนำ Appication ในเครื่องโทรศัพท์มือถือในการเลือกและคำนวณการใช้บริการรถไฟฟ้าในแต่ละสาย เพื่อส่งเสริมการใช้บริการสาธารณะ เป็นการลดการใช้พลังงาน ประหยัดให้กับสายการผลิดของประเทศสืบต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูล.:.เรียบเรียงโดย : มาลิลี พรภัทรเมธา
ขอบคุณภาพประกอบ : Internet

ขอบคุณแหล่งข้อมูลที่มา : home.co.th

วันที่แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 17 กุมภาพันธ์ 2563

Loading

Facebook Comments: (1) ห้ามใช้คำพูด หรือเขียนข้อความหยาบคาย ด่าทอ ดูถูกดูหมิ่นดูแคลน (2) ห้ามพูดหรือเขียนข้อความอันจาบจ้วงสถาบันหลักสำคัญของชาติ ห้ามละเมิดกฎหมาย ป.อาญามาตรา 112 โดยเด็ดขาด (3) ห้ามพูดจาละเมิดหรือเขียนข้อความอันสร้างความเกลียดชังในเรื่อง ชาติ ศาสนา เชื้อชาติ การแสดงความเคารพต่างๆ ของส่วนบุคคล และของประเทศต่างๆ ห้ามเอาความเชื่อส่วนบุคคลมาวิพากย์วิจารณ์อย่างดูหมิ่นดูแคลนเหยีดหยาม (4) ห้ามพูดจาหรือเขียนข้อความ ที่ดูหมิ่น-ละเมิดศาล หรือวิจารณ์วิเคราะห์คำพิพากษาของศาลโดยเด็ดขาด (5) ห้ามเขียนหรือกระทำการแสดงความคิดเห็นต่างๆที่เข้าข่ายผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ (6) ต้องปฏิบัติและเคารพกฏหมายและระเบียบธรรมเนียมปฏิบัติอย่างเคารพกฏหมายอย่างเข้มงวด

Leave a Reply

Your email address will not be published.