วันนี้ (9 เมษายน 2563) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์ ไฟป่า หมอกควัน ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พร้อมประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์) ร่วมกับกองทัพภาคที่ 3 ผู้แทน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ผู้บริหาร ทส. ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมการประชุม ณ ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม
โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รายงานการดำเนินงานในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (ส่วนหน้า) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำการอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมอบหมายให้นายพงศ์บุณย์ ปองทอง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าศูนย์ และมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ ลงพื้นที่ไปกำกับการปฏิบัติงานในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ
เพื่อให้การสนับสนุนและช่วยประสานงานผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงฯ ได้รวมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทั้งในและนอกจังหวัด จำนวน 4,000 นาย ร่วมเฝ้าระวังและลาดตระเวนดับไฟป่า ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งจัดชุดดับไฟป่า จำนวน 3,000 นาย ร่วมดับไฟและเก็บไฟ และจัดชุดเจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้านในพื้นที่เสียง ซึ่งทำงานร่วมกับฝ่ายปกครอง ทหาร ตำรวจ อาสมัคร จิตอาสา เครือข่ายชาวบ้าน เพื่อสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ยังได้มีการบังคับใช้กฎหมายและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างเคร่งครัด ซึ่งจากการทำงานดังกล่าว ทำให้ในภาพรวมสถานการณ์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จุดความร้อนลดลง ค่าฝุ่น PM 2.5 ลดลง สามารถมองเห็นทัศนียภาพดอยสุเทพ-ปุย และสามารถจับกุมและฟ้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้มากขึ้น
ด้าน พลเอก ประวิตรฯ ได้กล่าวขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้เข้มงวดดําเนินมาตรการในการรับมือสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน อย่างเต็มกําลังความสามารถ และได้เน้นย้ำ 1) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดระดมสรรพกําลัง อุปกรณ์เครื่องมือ และอากาศยาน เข้าดับไฟ ไม่ให้ลุกลามเป็นวงกว้าง และให้ดับไฟให้สนิท พร้อมเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการประทุของไฟขึ้นซ้ำในพื้นที่เดิม 2) สั่งการไปถึง ระดับตําบล หมู่บ้าน ให้จับตากลุ่มเสี่ยง ที่มีพฤติกรรมการเผาป่า หรือหาของป่า ล่าสัตว์ สําหรับผู้ได้รับสิทธิ์ในการใช้ ประโยชน์พื้นที่ป่า เช่น การจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนตามแนวทาง คทช. หากพบว่ามีการเผาในพื้นที่ ขอให้ตัดสิทธิ์ทันที 3) ให้ ทุกหน่วยงานคุมเข้มและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ไม่ให้มีการเผาตลอดช่วงห้ามเผาที่จังหวัดกําหนด และเร่ง เตรียมการรับมือการเผาสําหรับเกษตรกรหลังพ้นช่วงห้ามเผาด้วย สําหรับการจุดไฟเผาป่า ต้องหาตัวผู้กระทําผิดให้ได้ และ ให้เร่งส่งฟ้องและดําเนินคดีโดยเร็ว พร้อมทั้ง ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด แถลงข่าวการจับกุมและดําเนินคดี เพื่อเป็นการป้อง ปรามและเป็นตัวอย่างให้ประชาชนรับรู้ 4) ให้จังหวัดดูแลสุขภาพประชาชนจากมลพิษหมอกควัน ส่งเสริมการจัด safe zone ที่บ้าน เพื่อลดผลกระทบจากมลพิษ และเป็นไปตามแนวทางการเฝ้าระวัง COVID-19 6)
ให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับการสื่อสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของภาครัฐให้ประชาชนรับทราบควบคู่ไปกับการสร้างความรับรู้ความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเผาป่าและลดการเผาเศษวัสดุการเกษตร 7) สําหรับปัญหาหมอกควัน ข้ามแดน ให้ ทส. หยิบยกประเด็นการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน หารือกับประเทศเมียนมา ลาว และกัมพูชาใหม่ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และหากพบการเพิ่มขึ้นอย่างมากของจุดความร้อนในประเทศเพื่อนบ้าน ให้ประสานงานกับสํานักเลขาธิการอาเซียนอย่างใกล้ชิด 8)
ให้กองทัพภาคที่ 3 และจังหวัดชายแดน เจรจาสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง หากมีความจําเป็นหรือมีการร้องขอความช่วยเหลือในการดับไฟ ให้พิจารณาช่วยเหลือตามความเหมาะสม และ 9) หลังสิ้นสุดสถานการณ์ ให้ ทส. ร่วมกับ กองทัพภาคที่ 3 จัดการถอดบทเรียน AAR เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเด็ดขาดและยั่งยืนต่อไป
โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดชัดครูเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนถึงผลกระทบและผลเสียจาการเผาป่า อีกทั้งให้มีชุดพิทักษ์ป่าและชุดดับไฟป่าอยู่ในหมู่บ้านด้วย
หลังจากนั้น พลเอก ประวิตรฯ ได้เดินทางไปลานอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย และอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย ตรวจเยี่ยมและให้กําลังใจ พร้อมทั้งมอบถุงยังชีพและอุปกรณ์จําเป็นต่อการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างขวัญกําลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน อาสาสมัคร และจิตอาสา ที่ร่วมเป็นกําลังสําคัญในการป้องกันและดับไฟป่า
ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และขอให้ทุกคนเดินหน้าช่วยกันป้องกันและดับไฟป่าอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยขยายผลสร้างการรับรู้ สร้าง แนวร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ เพื่อคุณภาพทางอากาศที่ดีของประชาชนและรักษาป่าไม้อันมีค่าไว้ให้ลูกหลานสืบไป
สำนักข่าว RATCHATA NEWS 085-157-7465