หยุด! คอร์รัปชั่น “ปล้นเนียน!” วงจรทุจริตเชิงนโยบาย ปัญหาคาราคาซังที่แก้ยาก!

ปฏิเสธไม่ได้ การคอร์รัปชั่น เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน และนับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในเชิงขนาดและความซับซ้อน “การทุจริตเชิงนโยบาย” เป็นหนึ่งในปัญหาการคอร์รัปชั่นที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน การทุจริตเชิงนโยบายนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการใช้เงื่อนไขทางการเมืองในการเอื้อประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง การศึกษาทางวิชาการที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาการทุจริตเชิงนโยบาย คือ การใช้ความชอบธรรมของนโยบายและกฎหมาย เป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งแตกต่างจากปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือปัญหาการคอร์รัปชั่นที่เกิดจากการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ

แม้ดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทยยังไม่ดีขึ้น  แต่เมื่อพิจารณาถึงภาพรวมแล้ว ดูเหมือนคะแนนด้านความโปร่งใสของไทย นับว่ายังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก

การทุจริต (Corruption) หมายถึง การใช้อำนาจที่ได้มาหรือการใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ในทางมิชอบ  เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของผู้อื่น  การทุจริตอาจเกิดได้หลายลักษณะอาทิ การติดสินบนเจ้าพนักงานด้วยการชักชวนการเสนอการให้หรือการรับสินบน  ทั้งที่เป็นเงินและสิ่งของ  การมีผลประโยชน์ทับซ้อน  การฉ้อฉล  การฟอกเงิน  การยักยอกการปกปิดข้อเท็จจริง  การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม  การค้าภายใต้แรงอิทธิพล ทั้งนี้ การทุจริตดังกล่าวมิได้หมายความถึงเพียงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับหน่วยงานของรัฐเท่านั้น  แต่ยังครอบคลุมถึงธุรกรรมระหว่างบุคคลหรือกิจการในระหว่างภาคเอกชนด้วยกันเองด้วย ด้านหนึ่งยังสะท้อนว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นในสังคมไทยเเทบไม่ลดลงสักนิดเดียว ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่เรื่องของ “ความโปรงใส”“การทุจริต” และ “คอร์รัปชั่น” จะถูกตั้งคำถาม รวมถึงถูกหยิบยกมาถกแถลงบนเวทีวิชาการหลายต่อหลายครั้ง มันคือสุดอำนาจ ที่อยู่เหนือคนปกติทั่วไป และยังคงอยู่คู่กับผู้มีอำนาจต่อไป ยากที่จะแก้จากหนักให้เป็นเบาได้

#RATCHATANEWS #ข่าวการเมือง

 387 total views,  4 views today

Facebook Comments: (1) ห้ามใช้คำพูด หรือเขียนข้อความหยาบคาย ด่าทอ ดูถูกดูหมิ่นดูแคลน (2) ห้ามพูดหรือเขียนข้อความอันจาบจ้วงสถาบันหลักสำคัญของชาติ ห้ามละเมิดกฎหมาย ป.อาญามาตรา 112 โดยเด็ดขาด (3) ห้ามพูดจาละเมิดหรือเขียนข้อความอันสร้างความเกลียดชังในเรื่อง ชาติ ศาสนา เชื้อชาติ การแสดงความเคารพต่างๆ ของส่วนบุคคล และของประเทศต่างๆ ห้ามเอาความเชื่อส่วนบุคคลมาวิพากย์วิจารณ์อย่างดูหมิ่นดูแคลนเหยีดหยาม (4) ห้ามพูดจาหรือเขียนข้อความ ที่ดูหมิ่น-ละเมิดศาล หรือวิจารณ์วิเคราะห์คำพิพากษาของศาลโดยเด็ดขาด (5) ห้ามเขียนหรือกระทำการแสดงความคิดเห็นต่างๆที่เข้าข่ายผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ (6) ต้องปฏิบัติและเคารพกฏหมายและระเบียบธรรมเนียมปฏิบัติอย่างเคารพกฏหมายอย่างเข้มงวด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น