เมื่อวันที่ 15-16 กันยายน 2566
นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี มอบหมายให้ นายศิลา ปุจฉาการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ พร้อมด้วย ทีมงานกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี ดำเนินโครงการส่งเสริมการสร้างรายได้จากกิจการอาหารปลอดภัย
ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ที่มีศักยภาพด้านการผลิตอาหารปลอดภัยของจังหวัดราชบุรี จำนวน 10 กลุ่ม ๆ ละ 2 คน รวม 20 คน ณ โรงแรมแพรวอาภาเพลส อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยหลักสูตรที่บรรยาย วันแรก วันที่ 15 กันยายน 2566 ประกอบด้วย
- แนงทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐสู่กิจการอาหารปลอดภัย โดย นางสาวกนกพร มณีมาส เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชกรสาธารณสุข สสจ.ราชบุรี
- กระบวนดารตรวจสอบคุณภาพสินค้าสู่กิจการอาหารปลอดภัย โดย นางสาววรลักษณ์ อนันตกูล เภสักรชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี
โดยหลักสูตรที่บรรยาย วันแรก วันที่ 16 กันยายน 2566 ประกอบด้วย - การเชื่อมโยงเครือข่ายช่องทางการตลาดอาหารปลอดภัย โดย
- การวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและความต้องการทางการตลาดอาหารปลอดภัย โดย
โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ - เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ กลุ่มเป้าหมายในการสร้างรายได้กิจการอาหารปลอดภัย โดย
- เพื่อจัดทำแผนการพัฒนา ต่อยอด เเละเชื่อมโยงช่องทางการตลาดอาหารปลอดภัย โดย
- เพื่อเชื่อมโยงข่องทางการตลาดโดยบูรณาการความร่วมมือภาคีเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน โดย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายภารกิจให้รับผิดชอบการดำเนินงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ โดยมีคณะทำงานที่สำคัญทำหน้าที่ขับเคลื่อนคือคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ มีเป้าหมาย “สร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุข” ดำเนินการ 3 เรื่อง ประกอบด้วย การเกษตร การแปรรูป (SMEs/OTOP) และการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งมีกลไกขับเคลื่อนงานระดับจังหวัด ได้แก่ คณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด (คสป.) คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัด และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนงานการพัฒนาพื้นที่สอดคล้องกับภารกิจกรมการพัฒนาชุมชนที่มุ่งส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ โดยกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างชุมชนให้พึ่งตนเองได้ มีการเชื่อมโยงการพัฒนาชุมชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ฐานรากผ่านการพัฒนาสินค้าและบริการของชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับภูมิสังคมแต่ละพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ขยายตัว โดยเพิ่มศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยองค์ความรู้ และทุนชุมชน
การดำเนินงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ เป็นกลไกสำคัญของกระทรวงมหาดไทยที่สามารถตอบสนองนโยบายรัฐบาล “ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างรายได้และความเข้มแข็ง ทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมทั้งประเทศ” โดยให้ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมและภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกับภาครัฐ ซึ่งตรงกับภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชนในการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และกรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ โดยมีเป้าหมาย คือ “สร้างรายได้ให้กับชุมชน เพื่อประชาชนมีความสุข” ดำเนินการ 3 เรื่อง ประกอบด้วย การเกษตร การแปรรูป และการท่องเที่ยวโดยชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการดึงเอาพลังของ 5 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน/ชุมชน มาร่วมเป็นพลังในการขับเคลื่อนในรูปแบบประชารัฐ ภายใต้แนวคิด Social Enterprise (SE) เพื่อให้กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ได้รับการพัฒนาและสร้างประสิทธิภาพตลอดต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ผ่านกระบวนการขับเคลื่อน 5 ฟันเฟือง เริ่มต้นตั้งแต่การเข้าถึงปัจจัยการผลิต การสร้างองค์ความรู้ การตลาด การสื่อสารสร้างการรับรู้ และการบริหารจัดการ
สำนักข่าว RATCHATA NEWS