เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา พระครูธีรสุตพจน์ (สง่า ธีรสํวโร ป.ธ.๓ ,ดร.) (พระมหาสง่า ไชยวงศ์)
เจ้าอาวาสวัดผาลาด (สกิทาคามี) เจ้าคณะตำบลสุเทพ เขต 2 พร้อมคณะศรัทธา อุบาสก อุบาสิกา จัดพิธีสร้างพระเจ้าดอกไม้ จากดอกไม้นานาชนิด สมโภชน์ 650 ปี วัดผาลาด (สกิทาคามี)
โดยมีคณะศรัทธา นำเอาดอกไม้มงคล หลากหลายชนิดมารวมกัน เพื่อนำมาบดเเละเข้าส่วนผสมที่สำคัญให้คงรูปได้นานเท่านาน สร้างเป็นพระพุทธมวลดอกไม้ล้านนา ณ วัดผาลาด (สกิทาคามี) ตามความเชื่อของคนล้านนาโบราณ ที่มักนิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยดอกำไม้มงคล นอดเหนือจากโลหะสำริด
*ส่วนกระบวนการสร้างนั้น ในขั้นตอนแรกจะต้องนำผงขี้เถ้าที่ได้จากการเผาวัสดุต่างๆ เช่น เกสรดอกไม้ ดอกไม้แห้ง หญ้าคา ข้าว และสงาช้าง เป็นต้น มาผสมกับยางรักจนได้เนื้อมุกหรือสมุกที่มีลักษณะนิ่มไม่แข็งและไม่แฉะมากเกินไป ซึ่งเหมาะสมกับการนำมาปั้นเป็นองค์พระพุทธรูป (อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว , 2550 : 88)
เมื่อปั้นขึ้นรูปเป็นองค์พระแล้ว อาจตกแต่งผิวนอกด้วยการทาชาด ลง รักปิดทอง และประดับกระจกสี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพุทธลักษณะของพระพุทธรูปและความชำนาญของช่างเป็นสำคัญ ส่วนพระหลูบ จะมีขั้นตอนเพิ่มขึ้น กล่าวคือ การหุ้มพระพุทธรูปด้วยแผ่นเงินหรือแผ่นทองแล้วใช้เครื่องมือปลายแหลมจารเป็นเส้นรูปทรงพระพุทธเจ้าและลวดลายต่างๆไปบนแผ่นโลหะอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า พระหลูบ
นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร. ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่.
เนื่องจากคำว่าหลูบในภาษาล้านนา หมายถึง การหุ้ม (อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว, 2550 : 86) ส่วนดอกไม้ที่เป็นวัสดุสำคัญในการสร้างพระพุทธรูปนั้น ต้องเป็นดอกไม้ที่พุทธศาสนิกชนตั้งใจนำมาสักการะพระพุทธรูปที่วัด นำมาตากแห้งแล้วบดรวมกันจนเป็นผงมวลสารซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์เหมาะสมกับการนำมาสร้างพระพุทธรูป อันมีนัยสำคัญบางประการที่สะท้อนถึงวิธีคิดในการกำหนดคุณค่าแก่วัสดุ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อสัญลักษณ์ของพลังความศรัทธา ตามคติความเชื่อของชาวพุทธที่สืบทอดกันมาแต่สมัยพุทธกาล
สำนักข่าว RATCHATA NEWS