เมื่อวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์2567 เวลา 08.30 น. ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พร้อมด้วยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา จัดประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน และ สำรวจความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ พร้อมให้ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อโครงการขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงกับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินกับการพัฒนาเมืองใหม่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นไปด้วยความถูกต้องตามหลักวิชาการและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
ความเป็นมาโครงการระบบขนส่งสาธารณะสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ดำเนินการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และกำลังจัดทำแผนการพัฒนา “โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ” และการพัฒนา “มหานครการบินภาคตะวันออก” (Aerotropolis) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย สู่การเป็น Thailand 4.0 สร้าง New S-Curve สร้างความเจริญ สร้างรายได้และกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ภาคตะวันออก โดยเป็นการพัฒนาที่มีผลต่อประชาชนอย่างทั่วถึง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ซึ่งจะทำให้เกิดการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง โดยคาดการณ์ว่าว่าจะทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านคน และมีผู้ใช้บริการท่าอากาศยานอู่ตะเภาเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านคน ในปี 2580 ซึ่งทำให้ประชาชนในพื้นที่ ผู้ที่มาลงทุนและอยู่อาศัยใน EEC มีความต้องการเดินทางและขนส่งเพิ่มมากขึ้น
เพื่อเป็นการวางแผนให้สอดคล้องกับการพัฒนาในอนาคต บูรณาการสอดคล้องไปกับการพัฒนาใน EEC สกพอ. จึงได้ดำเนินการ “ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินกับการพัฒนาเมืองใหม่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” เพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงไปยังระบบคมนาคมขนส่งหลักของพื้นที่ EEC คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และเมืองใหม่ EEC ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยรอบ ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
รวมถึงรองรับความต้องการเดินทางที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินกับการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยเฉพาะการพัฒนาเมืองใหม่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จากการศึกษารูปแบบระบบขนส่งมวลชนรอง “ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก” มีความเหมาะสมมากที่สุด ทั้งในด้านวิศวกรรม การลงทุน สิ่งแวดล้อม จึงได้คัดเลือกระบบนี้มาดำเนินการออกแบบ แนวคิดเบื้องต้นของโครงการนำร่อง เนื่องด้วยระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็กมีการลงทุนในการพัฒนาค่อนข้างสูง ดังนั้นในระยะที่ 1 นำรถโดยสารไฟฟ้า (EV Bus) มาให้บริการในช่วง เริ่มต้นโครงการก่อน โดยจะเดินรถตามแนวถนนเดิม จึงไม่มีการเวนคืน จากนั้นปรับเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก
เมื่อปริมาณผู้โดยสารเพียงพอต่อการดำเนินการ การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงไปยัังระบบคมนาคมขนส่งหลักของพื้นที่่ EEC คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และเมืองใหม่ EEC ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยรอบส่งเสริมการเดินทาง ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล รวมถึงรองรับความต้องการเดินทางที่่จะเพิ่มขึ้นด้วย
สำนักข่าว RATCHATA NEWS